Thursday, November 20, 2008

ข้อควรสนใจบางประการในการใช้ว่านหางจระเข้

1.เด็กและคนสูงอายุต้องสนใจปริมาณการบริโภคว่านหางจระเข้เป็นพิเศษ

เด็กหรือคนสูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ เวลารับประทานว่านหางจระเข้ ต้องสนใจปริมาณการบริโภคเป็นพิเศษ อย่ารับประทานว่านหางจระเข้สด ให้รับประทานน้ำที่เคี่ยวจากใบว่านหางจระเข้ หรือชาว่านหางจระเข้ (อธิบายวิธีทำในตอนต่อไป) หรือน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ที่กรองเรียบร้อยและผสมเจือจางลงแล้ว ซึ่งให้ผลแบบค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า

2.ควรเลือกรับประทานว่านหางจระเข้สด

บางคนเห็นแก่ความสะดวกในการใช้ จึงบดว่านหางจระเข้ไว้เป็นจำนวนมาก แล้วนำไปแช่ไว้ในตู้เย็น แต่พอทิ้งไว้นานเข้า ของเหลวที่เก็บไว้เกิดการเปลี่ยนสี เมื่อเป็นเช่นนี้ อย่าได้นำมารับประทานอีก

ดังนั้นอย่าบดว่านหางจระเข้ครั้งเดียวไว้มากเกินไป ทางที่ดีควรทำไว้เผื่อรับประทาน 4-5 วันก็เพียงพอแล้ว

3.ผู้ที่รัรบประทานว่านหางจระเข้ครั้งแรก ควรเริ่มจากปริมาณที่น้อยก่อน

ไม่ว่าจะรับประทานใบว่านหางจระเข้สดหรือจะรับประทานน้ำว่านหางจระเข้ที่คั้นและกรองไว้เรียบร้อยก็ตาม ล้วนต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ แต่สำหรับคนที่รับประทานครั้งแรก ควรรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่ากำหนด หากสุขภาพไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นและกำหนดปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง

4.ข้อควรสนใจในการรับประทานว่านหางจระเข้ในช่วงที่ไม่สบาย

ผู้ที่ไม่สบาย หรือผู้ที่ไม่เคยรับประทานว่านหางจระเข้มาก่อน เวลารับประทานต้องสนใจเป็นพิเศษคืออย่ารับประทานในเวลาก่อนอาหาร ต้องรับประทานหลังอาหาร

สำหรับบางคนที่ร่างกายไม่คุ้นกับว่านหางจระเข้ เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้แล้วจะมีอาการท้องเสียหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการดังกล่าว ต้องหยุดรับประทานว่านหางจระเขเป็นการชั่วคราว สังเกตสักช่วงระยะหนึ่งแล้วค่อยลองรับประทานใหม่

5.การใช้ว่านหางจระเข้ทาแผลครั้งแรก

ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ เมื่อทาแผลด้วยว่านหางจระเข้ จะเกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน หรือบวมแดง

หากมีอาการดังกล่าว ก่อนจะใช้ว่านหางจระเข้ ทางที่ดีควรปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออก หรือใช้ผ้ากอซกรองน้ำว่านหางจระเข้แล้วเติน้ำเพื่อให้เจือจางก่อนใช้ทาแผล หากใช้ทาบริเวณใบหน้ายิ่งต้องสนใจเป็นพิเศษ

6.การรักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก

ว่านหางจระเข้ใช้รักาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก ได้ผลดีมาก แต่ก่อนอื่นต้องใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลลงเสียก่อน แล้วจึงค่อยรักษาด้วยว่านหางจระเข้ต่อไป

แต่ถ้าเป็นแผลที่มีอาการสาหัส ต้องรีบใช้น้ำที่สะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหถูมิของแผลลง แล้วนำส่งให้แพทย์รักษาโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้อย่าทำการรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านเป็นอันขาด

7. การใช้ว่านหางจระเข้ในระยะที่มีครรภ์ หรือมีประจำเดือน

สตรีที่อยู่ในระยะที่มีครรภ์ หรือมีประจำเดือนจะเกิดเลือดคั่งมดลูกได้ง่าย ดังนั้นหากรับประทานว่านหางจระเข้ในช่วงนี้ จะทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรืออาจมีอันตรายที่จะแท้งลูกได้

แต่ทั้งนี้ยังขึ้นกับปริมาณการรับประทานว่านหางจระเข้ด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัย หากมีอาการป่วยในระยะที่ตั้งครรภ์ควรปรึกาแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกต้อง

No comments: