Friday, December 12, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 21 - ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
1. ริดสีดวงแห้ง
2.ริดสีดวงฉีก
3.ริดสีดวงบานทะโลก
ที่เป็นกันมากคือริดสีดวงแห้ง ซึ่งเป็นการโป่งออกของเส้นโลหิตดำที่ทวารหนักเวลาถ่ายจะมีอาการเลือดออกติดมากับอุจจาระและมีความรู้สึกเจ็บ
คนที่ท้องผูกบ่อย หัวริดสีดวงจะฉีกได้ง่าย เนื่องจากการเสียดสีของอุจจาระที่แข็ง และโดยเฉพาะผุ้ที่มีอาการอักเสบในทวารหรือทวารแตกเป็นร่อง เวลาถ่ายจะมีของเหลวออกมา ถึงแม้จะไม่มีอาการเจ็บ แต่มีอาการคันที่ทวารหนัก
ริดสีดวงแห้งและริดสีดวงฉีกสามารถรักษาได้โดยใช้ว่านหางจระเข้ แต่ถ้าเป็นริดสีดวงบานทะโลก ควรให้แพทย์รักษา
ริดสีดวงแห้งและริดสีดวงฉีก ที่สำคัญเกิดจากท้องผูกควรรับประทานว่านหางจระเข้เป็นประจำ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องท้องผูก ซึ่งส่งผลการรักษาริดสีดวงไปในตัวด้วย กระทั่งบางคนใช้น้ำว่านหางจระเข้ทาริดสีดวง หรือสวนทวารควบกันไป วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบให้ทุเลาลงด้วย
การรักษาให้รับประทานว่านหางจระเข้ที่มีความยาว 3-4 ซม. หรือน้ำว่านหางจระเข้ทุกวัน
การใช้น้ำว่านหางจระเข้ทาริดสีดวง ก่อนอื่นต้องล้างแผลให้สะอาด ใช้สำลีหรือผ้าก็อซ ทาวุ้นว่านหางจระเข้ปิดตรงหัวริดสีดวงแล้วใช้ผ้าพลาสเตอร์ปิดทับไว้อย่าให้เลื่อนหลุด ถ้าน้ำว่านหางจระเข้แห้งลงก็ให้ทำการปิดซ้ำใหม่อีก

Thursday, December 11, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 20 - กล้ามเนื้อหัวไหล่แข็งระบม

"เวลาใช้ น่าจะใส่แป้งสาลีลงไปกวนกับวุ้นว่านหางจระเข้ ให้ได้ครีมที่ข้นพอสมควรแล้วค่อยประคบ"


อาการแข็งระบมที่กล้ามเนื้อหัวไหล่ มีสาเหตุหลายอย่าง แต่ส่วนมากมักเนื่องมาจากการวางแขนอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน โดยไม่มีการเคลื่อนไหวไหล่ กล้ามเนื้อในส่วนนั้นจึงเกิดการเคล็ดและเกร็งตัว ทำให้โลหิตไหลเวียนไม่สะดวก จึงเกิดอาการแข็งระบม ยังผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวไหล่ติดขัด เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้โลหิตไหลเวียนดี สามารถใช้วิธีรักษาโดยการประคบด้วยว่านหางจระเข้

วิธีรักษามี 2 อย่าง
1. ใช้ของเหลวที่บดจากว่านหางจระเข้ ทาบนผ้าก็อซที่จะใช้ แล้วนำไปปิดตรงบริเวณที่เจ็บ
2. ทำของเหลวที่บดจากว่านหางจระเข้ ให้อุ่นโดยเติมน้ำร้อนหรือตั้งไป เอาผ้าขาวที่ค่อนข้างหนาจุ่มลงไปจนชุ่ม แล้วนำไปปิดตรงบริเวณที่เจ็บวิธีนี้เรียกว่าการประคบร้อนด้วยว่านหางจระเข้

Wednesday, December 10, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 19 - เคล็ดขัดยอก ช้ำบวม

ในขณะเล่นกีฬา ถ้าเกิดพลาดพลั้ง หัวเข่ากระแทกกับพื้นอย่างแรง หรือหกล้มข้อเคล็ด ควรให้แพทย์รักษาโดยด่วน แต่ถ้าอาการไม่รุนแรง ก็อาจใช้วิธีประคบด้วยว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้จะช่วยลดความร้อนบรรเทาอาการอักเสบ และระงับปวด
การปฐมพยาบาลคนเจ็บที่หกล้มฟกช้ำ ควรต้องประคบแผลด้วยน้ำเย็น ส่วนคนเจ็บที่เกิดการเคล็ดต้องเข้าเฝือกและตรึงด้วยไม้ ให้คนเจ็บอยู่ในภาวะที่สงบ
วิธีใช้
เอาวุ้นว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณที่เจ็บ แล้วใช้ผ้าพันแผลพันให้เรียบร้อย อย่าให้เลื่อนหลุดได้
ถ้าการบาดเจ็บให้บริเวณกว้าง ให้ใช้น้ำว่านหางจระเข้คั้น (หรือครีมว่านหางจระเข้) ทาใส่บนผ้าก็อซแล้วประคบตามบริเวณที่เจ็บ หากของเหลวที่ปิดอยู่แห้งตัวลงก็ทำการประคบใหม่ซ้ำอีก

Tuesday, December 9, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 18 - ตาปลา

การใส่รองเท้าที่คับเกินไป รองเท้าจะเสียดสีหรือกดทับตามนิ้วเท้าและส้นเท้า ทำให้ผิวหนังส่วนนั้นด้านไป แล้วกลายเป็นตาปลา เมื่อใช้ว่านหางจระเข้รักษา สารจากว่านหางจระเข้จะซึมเข้าไปในผิวหนัง แล้วทำให้ผิวหนังด้านที่เกิดการลอกออก หลังจากที่ตาปลาลอกหลุดออกมาแล้ว ผิวหนังตรงนั้นก็จะเกิดเป็นรูบุ๋ม ถ้าใช้ว่านหางจระเข้ปิดรักษาต่อไป มักจะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเติบโตสมานรอยแผลรูที่เกิดขึ้นนั้นจะค่อยๆ เล็กลงจนกระทั่งหายไปในที่สุด
การรักษาตาปลาด้วยว่านหางจระเข้ เช่นเดียวกับการรักษาฮ่องกงฟุต

Monday, December 8, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 17 - ฮ่องกงฟุต

โรคฮ่องกงฟุตมี 2 ชนิด ชนิดแรกที่ผิวหนังจะเป็นผิวแห้งและหยาบกร้าน เรียกว่าฮ่องกงฟุตแบบแห้ง ชนิดที่สองเรียกว่าฮ่องกงฟุตแบบชื้น ซึ่งจะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตลอดเวลา โรคฮ่องกงฟุตถ้าเป็นหนัก อาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นได้ กระทั่งทำให้เดินไม่ได้ โรคฮ่องกงฟุตเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดไม่ง่ายนัก มีผู้ป่วยจำนวนมากได้ผ่านการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
เนื่องจากฮ่องกงฟุตเกิดจากเชื้อราซึ่งแทรกซ้อนอยู่ระหว่างชั้นหนังแท้ กับหนังชั้นนอก การรักษาด้วยว่านหางจระเข้ สารจากว่าหางจระเข้จะซึมเข้าสู่ผิวหนังไประงับการเติบโต และสลายพิษของเชื้อรา หลังจากที่ใช้ว่านหางจระเข้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการคันอีก ต่อมาอีกหลายวันผิวหนังชั้นนอกจะลอกออก แล้วโรคฮ่องกงฟุตจะค่อยๆ หายไป ดังนั้นว่านหางจระเข้จึงใช้รักษาโรคฮ่องกงฟุตได้ผล
วิธีใช้ ก่อนอื่นต้องล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง เอาวุ้นว่านหางจระเข้ปิดลงตรงบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต แล้วพันด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย

Sunday, December 7, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 16 - ปวดฟัน

ว่านหางจระเข้ใช้ระงับอาการปวดฟันได้ชั่วคราวเพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณทำลายเชื้อโรค สลายพิษ (Neutralization) ของเชื้อโรค เมื่ออาการปวดทุเลาลง ควรต้องหาทันตแพทย์ทำการตรวจรักษาต่อไป
วิธีใช้
หั่นใบว่านหางจระเข้เป็นชิ้นที่มีความยาว 2-3 . เหน็บไว้ที่ซอกฟัน หรือใช้ฟันขบให้อยู่ตรงที่เจ็บ ถ้าไม่อาจขบหรือเหน็บได้ อาจใช้ไม้พันสำลี จุ่มน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ ทาป้ายตรงบริเวณที่เจ็บ ถ้าเหงือกบวมอักเสบ ให้ใช้เนื้อข้างในของใบว่านหางจระเข้ฝานเป็นชิ้นบางๆ ปิดตรงบริเวณที่อักเสบ ประมาณครึ่งชั่วโมงอาการปวดก็จะทุเลาลง

Saturday, December 6, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 15 - โพรงปากอักเสบและมุมปากเปื่อย(ปากนกกระจอก)

วิธีใช้ ตัดใบว่านหางจระเข้มาท่อนหนึ่งล้างน้ำให้สะอาด เอามีดเฉือนตรงที่เป็นหนามออก ใช้เครื่องไสๆ เป็นวุ้นละเอียด แล้วเติมน้ำไปประมาณ 4-5 เท่าของวุ้นว่านหางจระเข้กวนให้วุ้นสลายตัวแล้วอมไว้ ในปากนานพอสมควร แล้วบ้วนออก แต่ถ้าเป็นอาการมุมปากอักเสบก็เอามีดตัดเอาว่านหางจระเข้มาส่วนหนึ่งบีบเอาน้ำเมือกจากใบว่านหางจระเข้ทาลงตรงมุมปาก ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้งอาการอักเสบก็จะหายสนิท

Friday, December 5, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 14 - แผลแมลงกัดต่อย

ในฤดูร้อนเป็นฤดูที่แมลงชุกชุม หากไม่ระมัดระวัง ก็จะถูกแมลงกัดต่อยได้ง่าย แผลที่ถูกแมลงกัดต่อยจะมีอาการคันบวมแดง กระทั่งบางครั้งอาจถึงกับทำให้เป็นไข้หรือเกิดหนองติดเชื้อได้ การรักษาด้วยว่านหางจระเข้จะช่วยสลายพิษที่ได้รับจากแมลงโดยบีบเอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ ทาตรงรอยแผลที่ถูกแมลงกัดหรือต่อย

Thursday, December 4, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 13 - แผลถลอกและแผลจากของมีคม

ว่านหางจระเข้ใช้รักษาแผลที่เกิดจากของมีคม หรือแผลถลอกที่มีขนาดเล็กเมื่อเกิดแผลขึ้นควรทำความสะอาดแผลและบริเวณรอบๆ แผลเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำเมือกหรือเนื้อข้างในของว่านหางจระเข้ ทาหรือปิดลงบนแผลแล้วใช้ผ้าพันแผลพันให้เรียบร้อย ว่านหางจระเข้จะช่วยสมานแผลและป้องกันการติดเชื้อ

Wednesday, December 3, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 12 - แผลจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก

นับตั้งแต่โบราณว่านหางจระเข้เป็นยาที่ขึ้นชื่อและให้ผลชะงัด ที่เหมาะสำหรับใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น คนจำนวนมากนิยมใช้ว่านาหงจระเข้รักษาแผลดังกล่าว และชาวอินเดียนแดงเชื้อสายเม็กซิโก รู้จักใช้ว่านหางจระเข้เป็นยาสำหรับใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ และน้ำร้อนลวกมานานแล้ว
การที่ว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการรักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ก็เพราะว่าวุ้นว่านหางจระเข้ สามารถดูดความร้อนจากผิวหนัง และน้ำเมือกว่านหางจระเข้มีผลในการสมานแผล ซ้ำยังเป็นตัวป้องกันไม่ให้แผลถูกกับอากาศ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนได้
แผลที่เกิดจากไฟไหม้และแผลจากน้ำร้อนลวก พอแบ่งได้ 2 ระดับคือ ระดับอาการเบา และระดับอาการหนัก อาการเบาจะเกิดการบวมแดงที่ผิวหนัง รู้สึกปวดแสบปวดร้อนหรือบวมพองเป็นตุ่ม และบริเวณแผลถูกลวกไม่กว้าง ในการรักษาก่อนอื่นต้องใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลลง แล้วจึงค่อยรักษาด้วยว่านหางจระเข้
ส่วนแผลที่มีอาการสาหัส ผิวหนังจะมีรอยไหม้ดำ เนื้อเยื่อเกิดการลอกหลุด หรือเกิดการพุพองเป็นบริเวณกว้าง ในการปฐมพยาบาลควรใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลเสียก่อน แล้วรีบให้แพทย์รักษาโดยด่วนและอย่าได้รักษาเองตามวิธีพื้นบ้านเป็นอันขาด
แผลที่เกิดจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ไม่ว่าจะมีอาการเบาแค่ไหน ล้วนต้องใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำการรักษาต่อไป แต่ถ้าอุณหภูมิของแผลไม่ลดลง ให้เอาว่านหางจระเข้ปิดแผลแล้วรดด้วยน้ำเย็น หรืออีกวิธีหนึ่งคือประคบด้วยถุงน้ำแข็ง
ข้อควรสนใจคือ อย่าเจาะหรือบีบแผลพุพองที่เป็นตุ่มใสให้แตกออกเป็นอันขาด การรักษาด้วยว่านหางจระเข้ให้ปอกเอาเปลือกว่านหางจระเข้ออก ตัดเอาแต่วุ้น แล้วนำไปปิดลงบนแผล โดยปิดให้เป็นบริเวณกว้างกว่าแผลเล็กน้อย ใช้ผ้าสะอาดปิดทับไว้ข้างบน สุดท้ายพันด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผล เพื่อไม่ให้เลื่อนหลุดไปได้ เนื่องจากแผลที่เกิดจากไฟไหม้ และน้ำร้อนลวกจะมีความร้อนสูง ดังนั้นว่านหางจระเข้แห้งเร็วมากจึงต้องเปลี่ยนว่านหางจระเข้ที่ประคบอยู่บ่อยๆ

Tuesday, December 2, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 11 - เมาค้าง

อาการเมาค้างเป็นอาการที่เนื่องจากการทำงานของตับล้าลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การที่ได้รับหระทานว่านหางจระเข้ จะช่วยให้ตับฟื้นการทำงานให้เป็นปกติได้เร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติสามารถสลายพิษได้
วิธีใช้
รับประทานว่านหางจระเข้ที่มีความยาว 3-4 ซม. และก่อนหรือระหว่างการดื่มสุรา ถ้าได้รับประทานว่านหางจระเข้ที่มีความยาว 1-2 ซม. ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมาค้างได้

Monday, December 1, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 10 - เมารถเมาเรือ

คนที่เมารถเมาเรือได้ง่าย จะลำบากใจต่อการนั่งรถนั่งเรือไปไหนมาไหนเป็นที่สุด มักจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หาวนอนเป็นประจำ เหงื่อกาฬออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่กระเพาะลำไส้ไม่สู้แข็งแรง และผู้ที่อวัยวะการทรงตัวมีความไวสูง จะเมารถเมาเรือได้ง่าย การนอนไม่เต็มอิ่มหรือการที่กระเพาะลำไส้ ไม่สบายก็เป็นสาเหตุให้ เกิดการเมารถเมาเรือได้ง่ายเช่นกัน

ผู้ที่รู้ตัวว่าเมารถเมาเรือง่าย ก่อนออกเดินทางควรได้รับประทานว่านหางจระเข้สักหน่อย ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดการเมารถเมาเรือได้ หรือในขณะเดินทางเกิดรู้สึกหงุดหงิด วิงเวียนศีรษะ ไม่สบาย ถ้าได้รับประทานว่านหางจระเข้ จะช่วยให้อาการเหล่านี้ทุเลาลง ทั้งนี้เพราะว่าว่านหางจระเข้ มีส่วนกระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ ขณะเดียวกันก็มีผลในการกล่อมประสาทด้วย

วิธีใช้

ก่อนออกเดินทางขึ้นรถลงเรือ ให้รับประทานน้ำว่านหางจระเข้คั้น หรือใบว่านหางจระเข้สดที่มีความยาว 2-3 ซม.

Sunday, November 30, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 9 - หืดหอบ

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหืดหอบนั้นมีมากมาย และแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ได้ผลชะงัด แต่การใช้ว่านหางจระเข้ ก็ให้ผลในการบำบัด อาการหืดหอบได้ในระดับที่แน่นอน หากรับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น และเสริมภูมิต้านทานแก่ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อและเยื่อเมือก (Mucous Membrane) มีความแข็งแรงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลช่วยระงับอาการหืดหอบไม่ให้กำเริบขึ้นได้

ในการรักษาโรคหืดหอบ ผู้ป่วยต้องใช้ความอดทนในการรับประทานว่านหางจระเข้ ติดต่อกันเป็นเวลานาน 1-2 เดือน จึงจะเห็นผลถึงกระนั้นก็ตามว่านหางจระเข้ก็ยังเป็นเพียงแค่วิธีเสริมการรักษาที่ได้ผลดีขึ้นเท่านั้น
วิธีใช้ว่านหางจระเข้ รักษาโรคหืดหอบเช่นเดียวกับวิธีการรักษาไข้หวัด

Saturday, November 29, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 8 - ไข้หวัด

ไข้หวัดเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงอะไร แต่มันสามารถพัฒนาและก่อให้เกิดการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ได้อีกมากมาย ดังนั้นเมื่อเป็นหวัดจึงต้องรับรักษาให้หายโดยเร็ว หากรู้ว่าตนเองเริ่มเป็นหวัดทางที่ดีควรรับประทานว่านหางจระเข้ เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณสามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ ในฤดูการที่ไข้หวัดระบาด การรับประทานว่านหางจระเข้ช่วยป้องกันได้ และถึงแม้ได้ติดเชื้อหวัดแล้วก็ตาม เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ก็จะช่วยรักษาได้โดยเร็ว
นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ ยังช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอ หรือ อาการเสมหะที่ติดอยู่ที่คอขากไม่ออกได้ผลดีด้วย
วิธีใช้
ตัดใบว่านหางจระเข้ยาว 3-4 ซม. บดหรือไสให้เป็นน้ำวุ้น เติมน้ำสุกอุ่นๆ 1 ถ้วยเล็ก แล้วรับประทานทันที หรือจะใส่น้ำมะนาวหรือน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นก็ได้ หลังจากที่รับประทานแล้วจะทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับเด็กเล็ก ให้รับประทานว่านาหงจระเข้แช่น้ำผึ้ง ก่อนรับประทานใส่น้ำสุกอุ่นๆ เพื่อให้เจือจางลงแล้วค่อยรับประทานหรือรับประทานว่านหางจระเข้เชื่อมก็ได้

Friday, November 28, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 7 - ตับอักเสบ

สำหรับผู้ที่ชอบดื่มสุรา มักเป็นโรคตับอักเสบ ตับเป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการเมตาโบลิซึม และเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สลายสารพิษหรือยาที่รับมาจากระบบการย่อยแล้วขับสารพิษเหล่านี้ออกมาในรูปของเสีย ฉะนั้นตับจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของตนเราเป็นอย่างมาก
เนื่องจากว่านหางจระเข้มีบทบาทในการแก้พิษและเสริมภูมิต้านทานในร่างกาย จึงสามารถช่วยเสริมสมรรถภาพการทำงานของตับ ดังนั้น หากรับประทานว่านหางจระเข้เป็นประจำ จะป้องกันโรคตับได้
วิธีการใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคตับนั้นเช่นเดียวกับ วิธีการรักษาโรคเบาหวาน

Thursday, November 27, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 6 - เบาหวาน

การเกิดขึ้นของโรคเบาหวานเป็นผลมาจากที่ตับอ่อนในร่างกานขับฮอร์โมน อินซูลินออกมาไม่เพียงพอ ทำให้กระบวนการเมตาโบลิซึมในร่างกานผิดปกติ และน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีอาการเหนื่อย เพลียง่าย เฉื่อย ไม่มีเรี่ยวแรง กระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อย ผู้มีอาการหนัก ภูมิต้านทานของร่างกายจะลดลงและเกิดการแทรกซ้อนของโรคอย่างอื่นได้ง่าย
เนื่องจากว่านหางจระเข้มีส่วนเสริมสร้างกระบวนการเมตาโบลิซึมในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีอาการไม่หนัก หรือผู้ที่ประสงค์จะรับประทานเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ในการรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องมีความเข้าใจสาเหตุของโรคนี้ และทำการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็สามารใช้ว่านหางจระเข้ ช่วยเสริมการรักษาควบคู่ไปด้วย ก็จะให้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น และสามารถควบคุมอาการของโรคเบาหวานไว้ได้
วิธีใช้
รับประทานใบว่านหางจระเข้ ที่มีความยาว 3-4 ซม. ทุกวัน หรือรับประทานน้ำว่านหางจระเข้คั้นก็ได้
หากเป็นการรับประทานเพื่อป้องกันโรค ก็อาจรับประทานในปริมาณที่น้อยลง

Wednesday, November 26, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 5 - ความดันโลหิตต่ำ

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ จะไม่เกิดภาวะอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตอย่างกะทันหัน ดังเช่นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำมักเกิดกับคนที่ผ่ายผอม และคนที่เอวบางร่างน้อย
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ มักมีอาการดังนี้ คือ รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลียง่ายโดยไม่รู้สาเหตุ และมักมีอาการหน้ามืด ตาลาย หูอื้อ เบื่ออาหารและกระเพาะลำไส้ไม่สบาย เย็นตามมือและเท้า แต่ในฤดูร้อนกลับไม่สู้ทนความร้อน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ อีก เช่น ตอนกลางคืนนอนหลับไม่ดี แต่รุ่งเช้ากลับไม่อยากลุก เป็นต้น
การรับประทานว่านหางจระเข้สามารถกระตุ้นกระบวนการเมตาโบลิซึม ของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ทำให้การทำงานทางสรีระของร่างกายเป็นไปด้วยดี ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปในครั้งเดียว และอย่ารับประทานใบสดว่านหางจระเข้หรือน้ำว่านหางจระเข้คั้น ซึ่งจะให้ผลรุนแรงเกินไป เริ่มแรกควรรับประทานแต่น้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น จนเท่าปริมาณปกติ
เหล้าดองว่านหางจระเข้ ใบชาว่านหางจระเข้ น้ำที่เคี่ยวจากใบว่านหางจระเข้ หรือว่านหางจระเข้เชื่อม สามารถ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เป็นยาที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ เฉพาะอย่างยิ่ง น้ำที่เคี่ยวจากใบว่านหางจระเข้ให้ผลการรักษา ที่ละมุนกว่าและค่อยเป็นค่อยไปอีกทั้งยังรับประทานได้ง่ายด้วยเพียงแต่ผู้ป่วยต้องมีความอดทนที่จะรับประทานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นนิจ

Tuesday, November 25, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 4 - ความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตที่ปกติของคนเราคือค่าความดันโลหิต ช่วงบนต่ำกว่า 139 มม. และค่าความดันโลหิตช่วงล่างต่ำกว่า 89 มม. แต่ความดันโลหิตช่วงบนสูงกว่า 99 มม. แล้ว ก็ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ค่าความดันโลหิตอาจผันแปรได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ฤดูกาล และช่วงเวลาที่วัด ตลอดจนภาวะจิตใจขณะที่ทำการวัดด้วย
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย บางคนเป็นโรคบางอย่างที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นเช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ ร่างการดูดรับเกลือมากเกินไป หรืออ่อนเพลียเกินไป หรือเพราะความอ้วน หรือเกิดจากความเครียดในจิตใจ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักหาสาเหตุที่แน่ชัดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
เนื่องจากมีสาเหตุมากมายที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง ดังนั้นอาการที่แสดงออกของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป บางคนมีอาการปวดหัว รู้สึกตึงที่บริเวณกล้ามเนื้อหัวไหล่ บ้างมีอาการหูอื้อ ตาลาย ดังนั้นการรักษาจึงต้องขจัดที่สาเหตุของโรค
การเสริมความแข็งแรงให้แก่เส้นโลหิตในสมอง ก็มีส่วนป้องกันอาการแทรกซ้อนอันเกิดจากเส้นโลหิตในสมองแตกได้ การรับประทานว่านหางจระเข้เป็นประจำ จะช่วยให้เส้นโลหิตมีความแข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดี ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ว่านหางจระเข้ใช้รักษาความดันโลหิตสูงได้ผลดีมาก
สำหรับผู้ที่บิดามารดามีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ขณะนี้ความดันโลหิตของตนเองอยู่ในเกณฑ์ปกติควรรับประทานว่านหางจระเข้แต่เนิ่นๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแก่เส้นโลหิต
สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วและกำลังใช้ยาลดความดันโลหิตอยู่ ก็อย่าหยุดใช้ยา เพียงแต่เสริมการใช้ว่านหางจระเข้รักษาควบคู่ไปด้วย จะช่วยส่งผลให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
วิธีใช้ รับประทานใบสดของว่านหางจระเข้ หรืออาจรับประทานน้ำว่านหางจระเข้คั้นทุกวัน โดยใช้ว่านหางจระเข้ที่มีความยาว 3-4 ซม. แม้ว่าว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการเสริมสร้างความแข็งแรง ให้แก่เส้นโลหิตและให้ผลดีในการลดความดันโลหิต แต่ว่านหางจระเข้ไม่ใช่ยาที่ใช้แล้วจะเห็นผลทันตา แต่จะให้ผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีความอดทนในการรับประทานว่านหางจระเข้อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ

Sunday, November 23, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 3 - ปวดกระเพาะเฉียบพลัน

อาการปวดกระเพาะอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นได้ในเวลากลางดึก หรือเมื่อเกิดความหิว อาการปวดนี้บางครั้งขยายไปถึงหลังจนเหงื่อกาฬออกทั้งตัว และยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในที่ที่ห่างไกล หรือเป็นผู้ป่วยเฉียบพลันในกลางดึกที่ไม่สามารถส่งไปยังโรงพยาบาลได้ทันที ในภาวะเช่นนี้ หากให้ผู้ป่วยได้รับประทานว่านหางจระเข้สักหน่อย ก็จะทำให้อาการปวดทุเลาลงได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นเพียงการระงับอาการชั่วคราวขั้นต้นเท่านั้น หลังจากนั้นต้องหาทางส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้แพทย์รักษาโดยเร็วด้วย
หากมีอาการปวดบริเวณลิ้นปี่อย่างแรง เรอเปรี้ยว อาเจียนเป็นเลือดหรืออุจจาระเป็นลิ่มเลือดสีดำ แสดงว่ามีแผลที่กระเพาะอาหารหรือที่ลำไส้เล็กส่วนต้น แผลในกระเพาะอาหารจะเป็นกันมากในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน ส่วนแผลที่ลำไส้ส่วนต้นมักเกิดกับคนหนุ่มสาว การเกิดขึ้นของโรคทั้งสองอย่างนี้มีความเกี่ยวพันกับภาวะตึงเครียดทางจิตใจ และการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
ว่านหางจระเข้ใช้สมานแผลได้ผลชะงัด และยังสามารถห้ามเลือดได้ จึงอาจใช้ระงับอาการตกเลือดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น เสียเลือดมากและมีอาการช็อค ต้องรีบส่งแพทย์โดยด่วน วิธีการใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคดังกล่าวนี้ เช่นเดียวกับการรักษากระเพาะลำไส้ไม่ปกติ

Saturday, November 22, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 2 - กระเพาะลำไส้ไม่ปกติ ท้องอืด เฟ้อ อาหารไม่ย่อย

อาการกระเพาะลำไส้ไม่ปกติ มักเกิดกับผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มเกินไป หรือผู้ที่มีความตึงเครียดทางจิตใจ โดยมากมักมีอาการแน่นท้อง เบื่ออาหาร อึดอัดไม่สบาย

อาการดังกล่าวนี้จะหายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง แต่ในทางกลับกันถาปล่อยให้อาการกำเริบขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะพัฒนากลายเป็นโรคเรื้อรังได้ ฉะนั้นเมื่อมีอาการเกิดขึ้น ควรต้องรักษาโดยเร็ว

อาการกระเพาะ ลำไส้ ไม่ปกติ สามารรักษาได้โดยใช้ว่านหางจระเข้ ทั้งนี้เพราะสารอะโลอิน สารอะโลอินิน ในว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการกระตุ้นกระเพาะลำไส้ เพิ่มการหลั่งของน้ำย่อยให้ระบบย่อยฟื้นคืนสู่สภาพปกติ

วิธีการรักษาโดยรับประทานใบสดว่านหางจระเข้หรือน้ำวุ้นของว่านหางจระเข้ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีรับประทานแบบใดก็ตาม ปริมาณว่านหางจระเข้ที่ใช้จะต้องมีความยาว 4 ซม. ต่อวัน และแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง

Friday, November 21, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 1 - ท้องผูก

การรับประทานอาหารได้ นอนหลับได้สนิท และขับถ่ายเป็นปกติ สามสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพของคนเราแข็งแรง แต่บางคนมักประสบปัญหาท้องผูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว มักกลัดกลุ้มกับอาการท้องผูกที่รักษาไม่หาย ซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดสิวและฝีตามใบหน้า กระทั่งริดสีดวงที่ทวารหนัก

การถ่ายอุจจาระเป็นปกติ ก็คือการถ่ายอย่างมีกฎเกณฑ์ซึ่งอาจเป็นการถ่ายทุกวันหรือ 2 วันครั้งก็ได้ แต่ถ้า 3-4 วันติดต่อกันหรือมากกว่า 4 วันจึงจะถ่ายหรือยังไม่มีความต้องการจะถ่าย เช่นนี้จัดเป็นอาการท้องผูก

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาอาการท้องผูกคือ รับประท่านใบสดว่านหางจระเข้ หรือรับประทานน้ำว่านหางจระเข้ก็ได้ ปริมาณการรับประทานต่อวันใช้ใบว่านหางจระเข้สดยาว 3-4 ซม. แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหารและอย่าลืมรับประทานผักสดและผลไม้ให้มากด้วย

Thursday, November 20, 2008

ข้อควรสนใจบางประการในการใช้ว่านหางจระเข้

1.เด็กและคนสูงอายุต้องสนใจปริมาณการบริโภคว่านหางจระเข้เป็นพิเศษ

เด็กหรือคนสูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ เวลารับประทานว่านหางจระเข้ ต้องสนใจปริมาณการบริโภคเป็นพิเศษ อย่ารับประทานว่านหางจระเข้สด ให้รับประทานน้ำที่เคี่ยวจากใบว่านหางจระเข้ หรือชาว่านหางจระเข้ (อธิบายวิธีทำในตอนต่อไป) หรือน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ที่กรองเรียบร้อยและผสมเจือจางลงแล้ว ซึ่งให้ผลแบบค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า

2.ควรเลือกรับประทานว่านหางจระเข้สด

บางคนเห็นแก่ความสะดวกในการใช้ จึงบดว่านหางจระเข้ไว้เป็นจำนวนมาก แล้วนำไปแช่ไว้ในตู้เย็น แต่พอทิ้งไว้นานเข้า ของเหลวที่เก็บไว้เกิดการเปลี่ยนสี เมื่อเป็นเช่นนี้ อย่าได้นำมารับประทานอีก

ดังนั้นอย่าบดว่านหางจระเข้ครั้งเดียวไว้มากเกินไป ทางที่ดีควรทำไว้เผื่อรับประทาน 4-5 วันก็เพียงพอแล้ว

3.ผู้ที่รัรบประทานว่านหางจระเข้ครั้งแรก ควรเริ่มจากปริมาณที่น้อยก่อน

ไม่ว่าจะรับประทานใบว่านหางจระเข้สดหรือจะรับประทานน้ำว่านหางจระเข้ที่คั้นและกรองไว้เรียบร้อยก็ตาม ล้วนต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ แต่สำหรับคนที่รับประทานครั้งแรก ควรรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่ากำหนด หากสุขภาพไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นและกำหนดปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง

4.ข้อควรสนใจในการรับประทานว่านหางจระเข้ในช่วงที่ไม่สบาย

ผู้ที่ไม่สบาย หรือผู้ที่ไม่เคยรับประทานว่านหางจระเข้มาก่อน เวลารับประทานต้องสนใจเป็นพิเศษคืออย่ารับประทานในเวลาก่อนอาหาร ต้องรับประทานหลังอาหาร

สำหรับบางคนที่ร่างกายไม่คุ้นกับว่านหางจระเข้ เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้แล้วจะมีอาการท้องเสียหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการดังกล่าว ต้องหยุดรับประทานว่านหางจระเขเป็นการชั่วคราว สังเกตสักช่วงระยะหนึ่งแล้วค่อยลองรับประทานใหม่

5.การใช้ว่านหางจระเข้ทาแผลครั้งแรก

ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ เมื่อทาแผลด้วยว่านหางจระเข้ จะเกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน หรือบวมแดง

หากมีอาการดังกล่าว ก่อนจะใช้ว่านหางจระเข้ ทางที่ดีควรปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออก หรือใช้ผ้ากอซกรองน้ำว่านหางจระเข้แล้วเติน้ำเพื่อให้เจือจางก่อนใช้ทาแผล หากใช้ทาบริเวณใบหน้ายิ่งต้องสนใจเป็นพิเศษ

6.การรักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก

ว่านหางจระเข้ใช้รักาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก ได้ผลดีมาก แต่ก่อนอื่นต้องใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลลงเสียก่อน แล้วจึงค่อยรักษาด้วยว่านหางจระเข้ต่อไป

แต่ถ้าเป็นแผลที่มีอาการสาหัส ต้องรีบใช้น้ำที่สะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหถูมิของแผลลง แล้วนำส่งให้แพทย์รักษาโดยด่วน ในกรณีเช่นนี้อย่าทำการรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านเป็นอันขาด

7. การใช้ว่านหางจระเข้ในระยะที่มีครรภ์ หรือมีประจำเดือน

สตรีที่อยู่ในระยะที่มีครรภ์ หรือมีประจำเดือนจะเกิดเลือดคั่งมดลูกได้ง่าย ดังนั้นหากรับประทานว่านหางจระเข้ในช่วงนี้ จะทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรืออาจมีอันตรายที่จะแท้งลูกได้

แต่ทั้งนี้ยังขึ้นกับปริมาณการรับประทานว่านหางจระเข้ด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัย หากมีอาการป่วยในระยะที่ตั้งครรภ์ควรปรึกาแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกต้อง

Wednesday, November 19, 2008

วิธีใช้ว่านหางจระเข้ 6 การปิดแผลด้วยเนื้อในของว่านหางจระเข้

เนื้อในของว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ โรคฮ่องกงฟุต และอาการเคล็ดขัดยอกช้ำบวมได้ผลดีมาก และอาการเคล็ดขัดยอกช้ำบวมได้ผลดีมาก และไม่ก่อให้เกิดการแพ้บนผิวหนัง ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้ครั้งแรกหรือใช้กับเด็กเล็ก จึงไม่ต้องมีความกังวลใดๆ

ถ้าเป็นแผลจากไฟไหม้ที่อาการไม่รุนแรง เพียงแค่มีอาการบวมแดง ปวดแสบปวดร้อนเล็กน้นอยหรือพองเป็นต่มใส ใช้ว่านหางจระเข้รักษาได้ แต่ถ้าเป็นแผลไฟไหม้สาหัสมีขนาดแผลกว้าง ต้องรีบส่งไปให้แพทย์รักษาโดยด่วน

ข้อควรสนใจอีกประการหนึ่ง คือ แผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ควรใช้น้ำสะอาดทำความสะอาดแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลลงเสียก่อนแล้วจึงทำการรักษาด้วยว่านหางจระเข้ต่อไป

วิธีใช้
1).ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาดแล้วสะเด็ดน้ำให้แห้ง
2).ปอกเปลิอกว่านหางจระเข้ออกก็จะได้ส่วนที่เป็นเนื้อข้างใน
3).หั่นเนื้ออ่อนออกเป็นชิ้นที่มีความยาวพอเหมาะ แล้วนำไปปิดลงบนแผลให้ทั่ว
4).ใช้ผ้ากอซปิดทับไว้ข้างบน จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลพันให้คงที่เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง แผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ หรือบริเวณที่เกิดการเคล็ด โดยปกติจะมีอาการบวมแดงและร้อน ทำให้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ที่ใช้ปิดแผลอยู่จะแห้งเร็วมากฉะนั้นจึงต้องหมั่นเปลี่ยนเนื้อของใบว่านหางจระเข้บ่อยๆ

Tuesday, November 18, 2008

วิธีใช้ว่านหางจระเข้ 5 การประคบด้วยครีมที่ทำจากใบว่านหางจระเข้

การประคบด้วยครีมที่ทำจากใบว่านหางจระเข้เหมาะสำหรับใช้ปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ กล้ามเนื้อฉีก เนื่องจากถูกกระแทกในขณะเล่นกีฬาหรือการทำงาน โดยใช้ครีมทาใส่ผ้าแล้วปิดตรงบริเวณที่บาดเจ็บ จะให้ผลการรักษาดีมากทีเดียว วิธีนี้จะให้ผลดีกว่าการทาแผลด้วยน้ำจากว่านหางจระเข้โดยตรงเสียอีก

อย่างไรก็ตามในการพยาบาลผู้ป่วยควรพิจารณาตามความหนักเบาของอาการ สำหรับรายที่มีอาการหนักควรส่งแพทย์โดยเร็ว ถ้าหากมีอาการค่อยข้างเบาหรือรายที่ต้องการปฐมพยาบาลด่วน ให้ประคบด้วยครีมว่านหางจระเข้เมื่อรักษาอาการให้ทุเลาก่อน จึงส่งไปให้แพทย์รักษาก่อน ในระยะที่ยังส่งตัวไม่ถึงมือแพทย์ ต้องหมั่นเปลี่ยนว่านหางจระเข้ที่ประคบอยู่เสมอ

สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ที่ผิวหนัง ถ้าประคบด้วยครีมว่านหางจระเข้นานเกินไป จะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อน บวมแดงตามบริเวณที่ประคบ ดังนั้น ในรายที่ผู้ป่วยมีอาการเช่นนี้ ควรใช้น้ำวุ้นที่ผ่านการกรองด้วยผ้าขาวบาง

วิธีใช้
1).ล้างใบว่านหางจระเข้ ใช้เครื่องไสไสหรือเครื่องปั่นปั่นจนเป็นวุ้นละเอียด
2).เอาแป้งสาลีเติมใส่ลงไปพอสมควร แล้วกวนให้เข้ากันจนเป้นครีมที่มีความหนืดตามที่ต้องการ

วิธีประคบ
เอาครีมว่านหางจระเข้ป้ายลงบนผ้าก๊อซ หรือสำลีที่สะอาดแล้วปิดตรงบริเวณที่บาดเจ็บ จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลพันให้เรียบร้อย อย่าให้เลื่อนหลุดได้ ครีมที่ปิดอยู่แห้งลง ก็ให้ทำการประคบซ้ำอีก

Monday, November 17, 2008

วิธีใช้ว่านหางจระเข้ 4 การใช้น้ำว่านหางจระเข้สดทาแผล

การใช้น้ำว่านหางจระเข้สดทาบริเวณแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย แผลที่เกิดจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก เป็นวิธีรักษาแบบพื้นบ้านที่นิยมใช้กันมานาน โดยตัดเอาว่านหางจระเข้มา แล้วบีบเอาน้ำเหลวทาบริเสณแผล สำหรับแผลที่เกิดจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก ถ้ารักาด้วยว่านหางจระเข้ หลังจากแผลหายแล้วจะไม่ทำให้เกิดแผลเป็น

เนื่องจากว่านหางจระเข้มีสรรพคุณระงับการอักเสบและระงับปวด ดังนั้นการใช้น้ำว่านหางจระเข้สดทารักษาแผล นอกจากจะช่วยสมานแผลแล้วยังสามารถบรรเทาอาการอักเสบและระงับปวดได้ด้วย

**ข้อควรสนใจคือ การใช้ว่านหางจระเข้ทาแผล จะต้องพิจารณาตามลักษณะและระดับความหนักเบาของบาดแผล สำหรับเด็กหรือบางคนที่มีอาการแพ้ตามผิวหนัง หลังจากทาแผลด้วยน้ำเมือกจากว่านหางจระเข้ จะมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณผิวหนัง ดังนั้นก่อนใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางลง

วิธีใช้
1). การใช้น้ำเมือกของว่านหางจระเข้ทาแผลโดยตรง
ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด ใช้มีดที่สะอาดและไม่มีสนิม ฝานใบว่านหางจระเข้ออก ใช้ไม้สำลีซับเอาน้ำเมือกของว่านหางจระเข้แล้วทาตรงบริเวณแผล

ถ้าเป็นแผลแมลงกัดต่อย ต้องบีบพิษออกจากแผลก่อน แล้วจึงทาด้วยน้ำเมือกว่านหางจระเข้ ถ้าเป็นแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือแผลถลอกขนาดเล็ก ควรทำความสะอาดแผลก่อน แล้วค่อยทาแผลด้วยน้ำเมือกว่านหางจระเข้

2).การใช้น้ำวุ้นที่ได้จากการบดหรือไสใบว่านหางจระเข้ทาแผล
ล้างว่านหางจระเข้ให้สะอาด ใช้ที่ไสไสว่านให้ละเอียดเป็นวุ้น ใช้สำลีแตะที่วุ้นแล้วทาที่แผล แต่หากแผลฟกช้ำกินบริเวณกว้างเช่นหัวไหล่ขัดยอกก็ต้องเอาสำลีหรือผ้าก๊อซทาน้ำวุ้น แล้วนำไปปิดที่บริเวณนั้น เมื่อน้ำวุ้นที่ปิดแห้ง ก็ต้องทำซ้ำใหม่อีก

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ตามผิวหนัง ก่อนใช้ควรกรองน้ำวุ้นด้วยผ้าขาวบาง และใช้น้ำเจือจางให้ความเข้มข้นลดลงเสียก่อน

Sunday, November 16, 2008

วิธีใช้ว่านหางจระเข้ 3 น้ำที่เคี่ยวใบว่านหางจระเข้

3 น้ำที่เคี่ยวใบว่านหางจระเข้

วิธีนี้เมื่อเทียบกับวิธีรับประทานว่านหางจระเข้สดแล้วจะเห็นผลช้ากว่า และให้ผลการรักาที่ค่อยเป็นค่อยไป

ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังผู้สูงอายุหรือเด็กที่สุขภาพไม่แข็งแรง และผู้ที่ตั้งใจจะรับประทานว่านหางจระเข้เป็นระยะเวลายาวนาน หากยังรู้สึกว่าการรับประทานเป็นไปด้วยควาวมลำบากก็อาจใส่น้ำผึ้งเพื่อให้มีรสชาติน่ารับประทานยิ่งขึ้นก็ได้

ปริมาณการรับประทานต่อวัน
การรับประทานน้ำที่เคี่ยวใบว่านหางจระเข้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ช่วยให้ร่างการแข็งแรงได้

การรับประทานเพื่อบำบัดโรคกระเพาะลำไส้ สำหรับผู้ใหญ่รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่ออาการหายเป็นปกติแล้วก็ยังคงรับประทานต่อแต่ลดปริมาณลงเหลือวันละ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่ออาการหายเป็นปกติแล้วยังคงรับประทานต่อ แต่ลดปริมาณลงเหลือวันละ 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานทุกวันอย่าให้ขาด ส่วนปริมาณการรับประทานของเด็กเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่

วิธีทำ
1).ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มีความหนาประมาณ 5 มม.
2).ใส่น้ำในปริมาณที่มีน้ำหนักเท่ากับว่านหางจระเข้แล้วนำไปต้ม (อย่าใช้หม้อที่ทำด้วยเหล็ก)
3).ต้มด้วยไฟแรงจนกระทั่งน้ำเดือด แล้วจึงค่อยหรี่ไฟลง ใช้ไฟอ่อนๆ ต้มต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
4).ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น กรองด้วยผ้าขาวบางที่สะอาดแล้วรับประทานส่วนที่เหลือนำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เก็บในตู้เย็นไว้รับประทานได้นาน 1 สัปดาห์

Saturday, November 15, 2008

วิธีใช้ว่านหางจระเข้ 2 การรับประทานน้ำว่านหางจระเข้

ผู้ที่รับประทานว่านหางจระเข้สดไม่ได้ อาจใช้วิธีบดคั้น หรือไสใบว่านหางจระเข้ให้เป็นน้ำวุ้นข้น แล้วใส่น้ำร้อนรับประทาน แต่หากยังไม่สารมารถรับประทานได้ อาจเติมน้ำให้เจือจางลงอีก หรือใส่น้ำตาล หรือเกลือเพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้นก็ได้

การรับประทานน้ำวุ้นว่านหางจระเข้คั้นจะมีรสชาติอร่อยกว่า อาจทำให้รับประทานว่านหางจระเข้เกินปริมาณได้ สำหรับผู้ที่รัรบประทานว่านหางจระเข้ครั้งแรก หรือผู้ที่ยังไม่ทราบว่าว่านหางจระเข้จะเหมาะกับสุขภาพของตนหรือไม่ จึงต้องตระหนักในเรื่องปริมาณการบริโภคให้มาก และควรเริ่มต้นรับประทาน ในปริมาณที่น้อยก่อน

ปริมาณการรับประทานต่อวัน
ปริมาณการรับประทานจะแตกต่างกันตามอาการโรคและสุขภาพของแต่ละคน ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ หรือผู้ที่กระเพาะลำไส้ไม่แข็งแรง ควรรับประทานว่านหางจระเข้วันละ 2 ช้อนโ และทางที่ดีแบ่งรับประทานเป็น 2-3 ครั้ง

**ปริมาณการบริโภคของเด็กเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่

ผู้ที่รับประทานน้ำว่านหางจระเข้ครั้งแรก หรือผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง รับประทานวันละ 1 ช้อนชา เมื่อร่างกายชินและไม่มีปฏิกิริยาแล้ว จึงค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้น และต้องรับประทานหลังอาหารอย่ารับประทานก่อนอาหารเป็นอันขาด

วิธีทำ
1). ตัดเอาใบวานหางจระเข้มาและล้างให้สะอาด
2).ใช้ที่ไสไสว่านหางจระเข้ให้ละเอียดหรือหั่นใบว่านหางจระเข้เป็นชิ้นบางๆ และใช้เครื่องปั่นปั่น จะได้น้ำว้นข้น
3).เติมน้ำลงไปเพื่อให้เจือจางลงหรือใช้วิธีกรองด้วยผ้าขาวบางเอากากออก แล้วรับประทานตามปริมาณที่เหมาะสม
4).ในการเก็บรักษาควรบรรจุไว้ในขวดที่สะอาด ปิดฝามิดชิดแล้วนำไปแช่ในตู้เย็น จะสามารถเก็บได้นาน 4- 5 วันก่อนใช้รับประทานอาจเติมน้ำให้เจือจางลงได้

Friday, November 14, 2008

วิธีใช้ว่านหางจระเข้ 1 การรับประทานว่านหางจระเข้สด

1. การรับประทานว่านหางจระเข้สด

การรับประทานว่านหางจระเข้สด เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและได้ผลดีที่สุด

ผู้ที่เริ่มรับประทานว่านหางจระเข้สดครั้งแรก อาจรู้สึกไม่ชิน เนื่องจากเปลือกว่านหางจระเข้มีรสขม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก้ควรปอกส่วนที่เป็นเปลือกออก รับประทานแต่เนื้อที่เป็นวุ้นของว่านหางจระเข้ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นไปได้ควรฝึกรับประทานทั้งเปลือกและส่วนเนื้อที่เป็นวุ้น เพราะว่าจะมีสรรพคุณดีที่สุด

สำหรับผู้ที่กระเพาะลำไส้ไม่แข็งแรง จำเป็นต้องรับประทานส่วนเปลือกที่มีรสขมและรสฝาด โดยเริ่มต้นรับประทานทีละน้อยๆ ก่อน หรืออาจใช้วิธีรับประทานใบว่านหางจระเข้ที่ผ่านการบดหรือปั่นจนเป็นของเหลวข้นก็ได้

ปริมาณการรับประทานต่อวัน
ผู้ที่เริ่มรับประทานว่านหางจระเข้ใหม่ๆ ควรรับประทานแต่น้อยจนกว่าจะชิน แล้วค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นจนถึงปริมาณปกติของคนทั่วไป

สำหรับผู้ใหญ่รับประทานใบว่านหางจระเข้ที่มีความยาว 3-4 ซม. หรือประมาณ 15 กรัมต่อวัน ส่วนเด็กให้รับประทาน 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ และจะต้องปอกเปลือกออก ให้เด็กรับประทานแต่เฉพาะเนื้อวุ้นเท่านั้น

การรับประทานใบว่านหางจระเข้สด จะให้ผลรักษาโดยตรงที่สุดและเห็นผลรวดเร็วที่สุดแต่ในช่วงที่สุขภาพไม่ดี และรับประทานว่านหางจระเข้ตามปริมาณปกติอาจมีอาการถ่ายท้องและคลื่นไส้ได้

วิธีรับประทาน
1). ตัดเอาใบว่านหางจระเข้ที่สมบูรณ์มาชื้นหนึ่ง
2).ล้างน้ำให้สะอาด
3). สำหรับผู้ที่ยังไม่ชินกับรสของใบว่านหางจระเข้ จะรู้สึกรับประทานลำบากเพราะมีรสฝาด ฉะนั้นก่อนรับประทานให้ฝานเอาหนามขอบใบออก
4).หากเป็นใบว่านหางจระเข้ที่อวบใหญ่ ปริมาณการบริโภคต่อวันควรมีขนาดความยาวประมาณ 3-4 ซม. ใบว่านหางจระเข้ที่ตัดมาแล้วหากรับประทานไม่หมด ควรใส่ถุงพลาสติกไว้นำไปแช่ตู้เย็น สามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นาน 1 สัปดาห์

Thursday, November 13, 2008

สารเคมีในว่านหางจระเข้2

สารอะโลคูตินและสารอะลอคตินเอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและสลายสารพิษของเชื้อโรค

สารอะโลมิซินและสารอะโลคูติน สามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัสโรคมะเร็งได้

ส่วนสารโพลีแซคคาไรด์ สามารถกระตุ้นการสมานแผลได้

สารที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น ทนควาวมร้อน ทนกรด ทนด่างและยังมีขนาดโมเลกุลที่เล็กมาก ดังนั้นสารเหล่านี้จึงมีความสามารถในการซึมผ่านสูงเป็นพิเศษ

ด้วยเหตุนี้ในการรักษาโรคฮ่องกงฟุตซึ่งเป็นโรครักษายาก หากใช้ว่านหางจระเข้รักษาก็จะหายได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะว่านหางจระเข้สามารถวึมเข้าสู่ส่วนลึกของผิวหนังซึ่งยาธรรมดาขาดคุณสมบัติเช่นนี้

ในการรักษาสิวที่เกิดขึ้นตามใบหน้าก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักยิ่งถ้ารักาด้วยยาปฏิชีวนะนานเข้าเชื้อโรคก็จะเกิดการดื้อยาได้ ก็จะไม่เป็นผลดีในการรักาอีกต่อไป แต่ถ้ารักษาด้วยว่านหางจระเข้ซึ่งมีคุณสมบัติของการสลายพิษของเชื้อโรค การรักษาก็จะได้ผลดีกว่า โดยไม่ทำให้เกิดการดื้อยา

เนื่องจากว่านหางจระเข้มีผลในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ดังนั้นในการรักษาโรคไข้หวัด โรคคางทูม ตุ่มพุพองตามริมฝีปาก และโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส หากใช้ว่านหางจระเข้รักษาเมื่อเริ่มมีอาการก็จะได้ผลดีมาก

ถึงแม้ว่า ว่านหางจระเข้ จะมีสรรพคุณมากมายหลายอย่างก็ตาม แต่มันก็ไม่ใช่ยาวิเศษ ที่ใช้รักษาได้สารพัดโรค ฉะนั้นจึงควรทำความเข้าใจอย่างทั่วด้านในสรรพคุณของว่านหางจระเข้เสียก่อนแล้วจึงค่อยนำมาใช้ อย่าใช้อย่างหลับหูหลับตา มิฉะนั้นอาจเป็นอันตราย และเกิดโทษได้

ในการใช้ว่านหางจระเข้ หากได้ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือนายแพทย์บ้างเป็นบางครั้ง ก็ช่วยให้การรักษาโรคได้ผลดียิ่งขึ้น

สารเคมีในว่านหางจระเข้1

ว่านหางจระเข้ามีสารอะโลอินและสารอะโลอินิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสขม มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหาร และโรคอวัยวะภายในอื่นๆ

Dr.SOEDA MOMOE แห่ง Toho University ของญี่ปุ่น ได้วิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของว่านหางจระเข้ในการรักษาโรค โดยทดลองในสัตว์ต่างๆ จนสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.ใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ แผลจากความเย็น (Frost-bite) และแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย

เนื่องจากแผลที่ถูกไฟไหม้ เนื้อเยื่อของผิวหนังจะถูกทำลายไปไม่มากก็น้อย เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผล ทำให้รู้สึกเย็นที่แผลและช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่ของเนื้อเยื่อใต้ผิว สามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในบริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน อีกทั้งไม่ทำให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย

2. ระงับการขยายตัวของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ สามารถสลายพิษ (Neutralization) ที่เชื้อโรคขับออกมา และยังสามารระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัสได้อีกด้วย

3.รักษาและสมานแผลในกระเพาะอาหารและในลำไส้เล็กส่วนต้น

4.ป้องกันโรคมะเร็ง

ทั้งนี้ Dr.SOEDA ได้ทำการทดลองในหนู แพะ และกระต่าย พบว่า สัตว์ตัวที่ได้กินว่านหางจระเข้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีภูมิต้านทานโรคมะเร็งมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีสารพิเศษหลายชนิดที่มีผลระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและการที่ร่างการรับเอาเชื้อไวรัสที่ถูกยับยั้งการขยายตัวก็จะก่อให้เกิดภูมิต้านทานโรคมะเร็งขึ้นได้

นอกจากนี้ Dr.SOEDA ยังพบอีกว่า ว่านหางจระเข้นอกจากมีสารอะโลอิน และสารอะโลอีนินแล้วยังมีสารอื่นๆ อีกหลายชนิดได้แก่ สารอะลอคตินเอ สารอะโลมิซิน สารอะโคลูติน และสารโพลีแซคคาไรด์ เป็นต้น
(อ้างอิงจาก ทัศนีย์ เมฆอริยะ,"ว่านหางจระเข้ ตำรับแพทย์จีน",2530)

ชนิดของว่านหางจระเข้

ในปัจจุบันว่านหางจระเข้มีมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน แต่ชนิดที่รักษาโรคได้ผลชะงัดนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งได้แก่ ว่านหางจระเข้แหลมกู๊ดโฮป และว่านหางจระเข้ BEIRA เป็นต้น

ว่านหางจระเข้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิชาการว่า ALOE ARBORESCENS เป็นว่านหางจระเข้ที่มีความสูงราว 2 เมตร ซึ่งต่างจากว่านหางจระเข้ทั่วไปที่ปลูกในกระถาง ลำต้นของว่านหางจระเข้ชนิดนี้มีใบขนาดใหญ่สีเขียวแก่ที่อิ่มอวบชุ่มชื่น มีปลูกมากทางตอนใต้ของไต้หวัน ชาวบ้านในแถบนั้นรู้จักใช้ว่านหางจระเข้นี้ทำเป็นยาพื้นบ้านมาช้านานแล้ว โดยใช้เป็นทั้งยาทาและยารับประทาน และปัจจุบันนี้ยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย


ว่านหางจระเข้ที่ปลูกอยู่ในสหรัฐอเมริกา และแถบทวีปอเมริกากลาง และอเมิริกาใต้นั้น เป็นว่านหางจระเข้BEIRA ว่านหางจระเข้ชนิดนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้มาแปรสภาพเป็นนำว่านหางจระเข้ ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นเครื่องสำอาง


ว่านหางจระเข้ที่มีในหมู่เกาะฮาวายกับหมู่เกาะซามัวร์ เป็นว่านหางจระเข้ที่มีผุ้คนนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้านกันอย่างกว้างขวาง

Tuesday, November 11, 2008

ความเป็นมาของว่านหางจระเข้ 2

ใน"ตำรายาสมุนไพรของกรีซ"ที่บันทึกเมื่อทศวรรษที่ 70 แห่งคริสต์ศักราชได้กล่าว "ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการบำรุงผิว ช่วยให้นอนหลับสบาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร" และยังสามารถใช้รักษาโรคกระเพาะลำไส้ โรคตับ อาการหืดหอบ แผลที่อวัยวะเพศ ริดสีดวงทวาร เคล็ดขัดยอกช้ำบวม โรคผิวหนัง หิด โรคโพรงปากอักเสบ เป็นต้น ได้ผลชะงัดอีกด้วย

ส่วนตำรายาสมุนไพรของอียิปต์บันทึกไว้ว่า "ว่านหางจระเข้เป็นยาดีสำหรับบำบัดโรคของสุภาพสตรี"

หลังจากเส้นทางสายไหมที่ได้ถูกบุกเบิกขึ้น ชื่อเสียงของว่านหางจระเข้ได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศจีน จากหลักฐานในตำรายาจีนมีการบันทึกไว้ว่า "หลู่ หมายถึงสีดำ ฮุ่ย หมายถึงการผลึกประสานเข้ากัน น้ำเมือกเหนียวของว่านหางจระเข้เมื่อทำให้ข้นตัวจะกลายเป็นสีดำ ด้วยเหตุนี้ จึงได้ชื่อว่าหลู่ฮุ่ย"

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันว่า บุตรชาย หลิวยี่ซี นักกวีสมัยราชวงศ์ถัง (คศ.772-842) เป็นกลากน้ำนมตามหัวและหู และรักษาหายได้ด้วยการใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้ และอีกรายหนึ่งเป็นพ่อค้ายาอยู่ในแคว้นฉู ได้เอาว่านหางจระเข้มาบดกับกำเช่า ทำเป็นยารักษาโรคก็เป็นเรื่องที่ได้รรับการกล่าวขานกันทั่วไปด้วยเช่นกัน

Wednesday, November 5, 2008

ความเป็นมาของว่านหางจระเข้ 1


ลักษณะทั่วไป

ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูล LILIUM แหล่งกำเนิดดั้งดิมอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธ์ของว่านหางจระเข้มีมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธ์ที่ขนาดใหญ่มากไปจนถึงพันธ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร

ลักษณะพิเศษ

มีใบแหลมคล้ายเข็ม เนื้อหนา และเนื้อใบมีน้ำเมือกเหนียว ผลิดอกช่วงฤดูหนาว ดอกมีสีต่างๆ กัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์


ที่มาของชื่อ

คำว่า " อะโล" ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่

การใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิว

มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี ก่อนคริสต์ศักราช 333 ปี พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เคยกรีธาทัพไปถึงทวีปอาฟริกา ได้พบว่านหางจระเข้เป็นจำนวนมาก และทรงรับสั่งให้ทำการปลูกอย่างขนานใหญ่ เพื่อใช้เป็นยาสำหรับกองทัพของพระองค์อีกทั้งพระนางคลีโอพัตรา ก็เคยใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้เป็นยาบำรุงผิว ทำให้พระนางมีผิวพรรณผุดผ่องดังดรุณีแรกรุ่น ตั้งแต่นั้นมา สรรพคุณของว่านหางจระเข้จึงได้เลื่องลือไปทั่วโลก