Tuesday, November 25, 2008

การรักษาโรคตามอาการ 4 - ความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตที่ปกติของคนเราคือค่าความดันโลหิต ช่วงบนต่ำกว่า 139 มม. และค่าความดันโลหิตช่วงล่างต่ำกว่า 89 มม. แต่ความดันโลหิตช่วงบนสูงกว่า 99 มม. แล้ว ก็ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ค่าความดันโลหิตอาจผันแปรได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ฤดูกาล และช่วงเวลาที่วัด ตลอดจนภาวะจิตใจขณะที่ทำการวัดด้วย
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย บางคนเป็นโรคบางอย่างที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นเช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ ร่างการดูดรับเกลือมากเกินไป หรืออ่อนเพลียเกินไป หรือเพราะความอ้วน หรือเกิดจากความเครียดในจิตใจ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักหาสาเหตุที่แน่ชัดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
เนื่องจากมีสาเหตุมากมายที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง ดังนั้นอาการที่แสดงออกของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป บางคนมีอาการปวดหัว รู้สึกตึงที่บริเวณกล้ามเนื้อหัวไหล่ บ้างมีอาการหูอื้อ ตาลาย ดังนั้นการรักษาจึงต้องขจัดที่สาเหตุของโรค
การเสริมความแข็งแรงให้แก่เส้นโลหิตในสมอง ก็มีส่วนป้องกันอาการแทรกซ้อนอันเกิดจากเส้นโลหิตในสมองแตกได้ การรับประทานว่านหางจระเข้เป็นประจำ จะช่วยให้เส้นโลหิตมีความแข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดี ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ว่านหางจระเข้ใช้รักษาความดันโลหิตสูงได้ผลดีมาก
สำหรับผู้ที่บิดามารดามีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ขณะนี้ความดันโลหิตของตนเองอยู่ในเกณฑ์ปกติควรรับประทานว่านหางจระเข้แต่เนิ่นๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแก่เส้นโลหิต
สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วและกำลังใช้ยาลดความดันโลหิตอยู่ ก็อย่าหยุดใช้ยา เพียงแต่เสริมการใช้ว่านหางจระเข้รักษาควบคู่ไปด้วย จะช่วยส่งผลให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
วิธีใช้ รับประทานใบสดของว่านหางจระเข้ หรืออาจรับประทานน้ำว่านหางจระเข้คั้นทุกวัน โดยใช้ว่านหางจระเข้ที่มีความยาว 3-4 ซม. แม้ว่าว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการเสริมสร้างความแข็งแรง ให้แก่เส้นโลหิตและให้ผลดีในการลดความดันโลหิต แต่ว่านหางจระเข้ไม่ใช่ยาที่ใช้แล้วจะเห็นผลทันตา แต่จะให้ผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีความอดทนในการรับประทานว่านหางจระเข้อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ

No comments: